ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา หลากหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบกันไปหมดทุกภาคส่วน แน่นอนว่าร้านอาหาร โรงแรมต่าง ๆ รวมถึง Hungry Hub ที่เป็นสตาร์ทอัพแพลตฟอร์มจองร้านอาหารออนไลน์ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แล้ว Hungry Hub กับ ร้านอาหารปรับตัวช่วง COVID-19 อย่างไร? จากเหตุการณ์นี้ เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ และนำมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันในบทความนี้ครับ
ในระหว่างที่มีการชัทดาวน์จากสถานการณ์ COVID-19 เราก็ไม่ได้นิ่งเฉย เราพยายามเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนวิธีคิด พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ซึ่งก็ได้ออกมาเป็น Business Model รูปแบบใหม่ นั่นก็คือ Hungry@Home ที่เป็น Delivery โดยมีจุดเด่นคือเก็บค่าคอมมิชชั่นแค่ 10% เพื่อต้องการช่วยร้านอาหารให้ไปต่อได้
และหลังจากที่เราได้ Launch ตัวนี้ไปเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผลตอบรับจากร้านอาหารต่าง ๆ ถือว่าดีมาก เพราะเราสามารถสร้างยอดขายให้กับร้านอาหารเหล่านี้ได้ถึง 6 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่แค่สร้างโมเดลนี้มาแค่เดือนเดียว
สถิติการจองช่วง ก่อนและหลัง COVID-19
22 มีนาคมที่ผ่านมาคือวันที่เกิด Lockdown ดังนั้นยอดผู้ใช้บริการจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เพราะทุกคนกังวลเรื่องการกักตัวเป็นหลัก จึงพยายามที่จะป้องกันตัวเองที่สุดโดยการไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงอย่างห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงร้านอาหารต่าง ๆ
พอมาถึงช่วงเดือนมิถุนายน สถานการณ์ได้เริ่มคลี่คลายลงบ้าง แต่ ร้านอาหารใน Hungry Hub ที่กลับมาให้บริการ กลับมีแค่ 25% จากร้านค้าในเครือทั้งหมดของเรา นั่นหมายความว่าอีก 75% ของร้านอาหารที่ยังไม่ได้กลับมาให้บริการเหมือนเดิม และพร้อมกับมาตรการของรัฐบาลที่ได้ออกมาแจ้งว่าให้จำกัดจำนวนคนที่เข้าไปใช้บริการในร้าน ทำให้ที่นั่งในร้านอาหารได้ถูกจัดเตรียมไว้น้อยลง ทำให้สามารถรับลูกค้าได้น้อยกว่าที่เคยเป็นมา
แต่จากข้อมูลทางสถิติของเราที่ได้ทำการรวบรวมมาก็ทำให้เห็นได้ว่า กราฟพุ่งขึ้นกลับมาเกือบเท่าเดิมก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ Lockdown มีลูกค้ากลับมาใช้บริการสูงถึง 75% ทั้ง ๆ ที่มีร้านค้าให้บริการแค่เพียง 25% ทั้งนี้สาเหตุที่เกิดขึ้นอาจมีด้วยกันได้หลายสาเหตุเช่น คนอาจจะกลัว Wave 2 ว่าไวรัสจะกลับมาระบาดหนักกว่าเดิม กลัวออกจากบ้านไม่ได้อีก เลยรีบตุนกินไว้ก่อน (นี่จึงเป็นตัวเลขที่น่าสนใจและแสดงให้เห็นว่าลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายเงินแล้ว) อีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจจากประชาชาติธุรกิจ มีข้อมูลออกมาว่า หลังจากคลายล็อกดาวน์ ลูกค้าหันมาเลือกบริโภค บุฟเฟ่ต์ มากกว่า a la carte อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ ‘บุฟเฟ่ต์’ มีกระแสที่ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Hungry Hub ช่วยร้านอาหารจับ ธุรกิจบุฟเฟ่ต์ สวนกระแสโควิด
Hungry Hub vs ร้านอาหารปรับตัวช่วง COVID-19 อย่างไร? Hungry@Home โมเดลใหม่ที่ช่วยทั้งสองฝ่าย
Hungry Hub ได้เริ่มเปิดโมเดลธุรกิจใหม่ที่เป็นตัว Delivery เลยทำให้ยอดกลับมาสูงขึ้น เป็นบริการรูปแบบใหม่ที่เชื่อมระหว่างลูกค้าและร้านอาหารเข้าไว้ด้วยกัน โดยเป็นดีลแพ็กเกจ สั่งอาหารแบบเป็นเซ็ทในราคาถูกกว่าปกติ 10-30% และมีการเรียกเก็บ GP กับร้านอาหาร 10% เท่านั้น ซึ่งในแต่ละเซ็ทก็จะมีหลากหลายเมนูให้เราสามารถเลือกเพิ่มเติมในแต่ละเซ็ทได้อีกที
สาเหตุที่เราได้ทำโมเดลนี้ขึ้นเพราะว่าเราเห็นโอกาสที่หลาย ๆ ร้านในเครือไม่เคยมี delivery มาก่อน โดยฝั่งร้านอาหารเราเก็บค่า GP แค่ 10% และค่าขนส่งเป็น Flat Rate อยู่ที่ 50 บาท และในฝั่งลูกค้า เราจะส่งให้ฟรีในระยะทางจากร้านภายในรัศมี 3 กิโลเมตรแรก หลังจากนั้นคิดเป็นกิโลละ 10 บาท
ผลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์พบว่า ค่าเฉลี่ยในการสั่งอาหารต่อหนึ่งออเดอร์จะอยู่ที่ 1,050 บาท และมีคนสั่งอาหารล่วงหน้าเฉลี่ยถึง 10 ชั่วโมงในแต่ละวัน
สาเหตุหลักที่ร้านยังไม่เปิด
- มีกำลังคนหรือพนักงานไม่เพียงพอ
- อาหารไม่หลากหลายพอ
- รอดูสถานการณ์ก่อน ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน
- โรงแรมยังคงปิดอยู่ (ซึ่งอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง ทำให้ยอดขายลดลงเช่นกัน)
- ปิดตัวตอนนี้ดีที่สุด (เพราะทุกเดือนก็จะมีต้นทุน หรือรายจ่ายที่มันเป็น fixed cost อยู่แล้ว)
และสำหรับร้านอาหารหรือผู้ประกอบการร้านอาหาร ท่านไหนที่อยากจะร่วมงานหรือเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา ทั้งแบบ All-You-Can-Eat / Buffet Plus / Party Pack / Hungry Lunch หรือแม้กระทั่ง Hungry@Home ที่เป็น Delivery สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ link นี้ได้เลยครับ
ทำความรู้จัก Hungry Hub ให้มากขึ้น ติดตามได้ที่บทความของเรา :
ทำความรู้จัก ‘Hungry Hub’ สตาร์ทอัพไทย แอปฯดีลร้านอาหารสุดคุ้มกับแนวคิดที่ไม่มีใครเหมือน
Hungry Hub สุดยอดแอปฯดันยอดขาย ที่ร้านอาหารห้ามพลาด
Copper x Hungry Hub อาวุธลับดันยอดขายให้ร้านอาหาร
Hungry Hub 2020 ปีนี้เราทำอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง