นโยบายชัชชาติ ‘ 12 เทศกาล 12 เดือน ‘ ให้คนกรุงเทพและนักท่องเที่ยวในจังหวัดอื่น ๆ ได้พบกับเทศกาลที่เพิ่มสีสันความน่าสนใจตลอดปี นอกจากนั้นเเล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับธุรกิจได้กระตุ้นยอดขายจากงานเทศกาล เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
จาก www.chadchart.com ได้ระบุรายละเอียดว่าจากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ปี 2564 มีแรงงานที่มีงานทำลดลง 107,354 คนจากปี 2563 หรือคิดเป็นประมาณ 2% ดังนั้นกรุงเทพฯ จะต้องเป็นแหล่งสร้างงานเพื่อทดแทนแรงงานที่หายไป การจัดเทศกาลคือการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเปิดโอกาสประกอบธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับคนกรุงเทพฯ
โดย เทศกาล สามารถเป็นเครื่องมือผลักดันความสร้างสรรค์ การออกแบบ ชุมชน รวมถึงเพิ่มเทศกาลที่น่าท่องเที่ยวให้กับคนกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย โดยแต่ละเทศกาลจะดึงอัตลักษณ์และศักยภาพของแต่ละย่านทั่วกรุงออกมาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของย่านในกรุงเทพฯ สามารถคัดสรร จัดกลุ่ม สร้างเรื่องราว เพื่อพัฒนากิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตลอดปี นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เกิดการท่องเที่ยวภายในย่านหลังจากจัดเทศกาลอีกด้วย
ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลาย ๆ คนคงได้พบกับกิจกรรม Pride Month ที่จัดโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นั้นก็คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์เป็น 1 ใน 12 กิจกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ นั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นใครเพศไหนก็สามารถแสดงตัวตนของตนเองออกมาได้อย่างอิสระ และในวันนี้ Hungry hub จะพาไปส่อง 12 เทศกาล 12 เดือน มีอะไรบ้าง ?
ส่อง นโยบายชัชชาติ ' 12 เทศกาล 12 เดือน ' เพิ่มสีสันให้กรุงเทพฯ
ตัวอย่าง เทศกาล ที่จัดได้ในแต่ละเดือนมีดังนี้
1. มกราคม – เทศกาลดนตรีในสวน
2. กุมภาพันธ์ – เทศกาลดอกไม้แห่งความรัก
3. มีนาคม – เทศกาลหนังสือกรุงเทพฯ
4. เมษายน – เทศกาลอาหารฮาลาลหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า
5. พฤษภาคม – เทศกาลผลไม้ไทย
6. มิถุนายน – Pride Month
7. กรกฎาคม – เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ กรุงเทพกลางแปลง
8. สิงหาคม – เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9. กันยายน – เทศกาลงานคราฟต์
10. ตุลาคม – เทศกาลแข่งเรือกรุงเทพฯ
11. พฤศจิกายน – เทศกาล 11.11 ช้อปปิ้งพาราไดส์เฟสติวัล
12. ธันวาคม – เทศกาลแห่งแสงและของขวัญกรุงเทพฯ (Bangkok Winter Illumination)
เเหล่งอ้างอิง : 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ