เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ได้มีการเปิดตัว มิชลิน ไกด์ 2567 หรือ The MICHELIN Guide Thailand 2024 ฉบับที่ 7 ของประเทศไทย โดยก็ได้มีการเปิดเผยรายชื่อร้านอาหารที่ได้รางวัล ดาวมิชลิน (Michelin Star) รวมไปถึงรางวัลอื่นๆอีกมากมายภายในงาน พร้อมฉลองความสำเร็จของบุคลากรมืออาชีพในแวดวงร้านอาหารของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้
โดยเกว็นดัล ปูลเล็นเนค (Gwendal Poullennec) ได้กล่าวว่าคู่มือมิชลิน ไกด์ ฉบับที่ 7 ก็ได้มีการบรรจุร้านอาหารที่ผ่านการคัดสรรรวมทั้งสิ้น 447 แห่ง ที่เกิดจากได้สัมผัสความหลากหลายของร้านอาหารของไทยไม่จะเป็นโมเดิร์นที่พยายามก้าวข้ามขอบเขตและขีดจำกัดเดิมๆ ร้านอาหารแบบแผงริมทาง ที่ตอกย้ำให้เห็นถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยก็ได้มีการแยกเป็นรางวัลต่างๆ ดังนี้
รวมรางวัล มิชลิน ไกด์ 2567 ทั้งหมด
- ⭐ MICHELIN star 1 ดาว = 7 ร้าน (เลื่อนระดับจาก ‘1 ดาวมิชลิน’ 2 ร้าน)
- ⭐⭐ MICHELIN star 2 ดาว = 28 ร้าน (ติดอันดับครั้งแรก 3 ร้าน และเลื่อนระดับจาก MICHELIN Selected 3 ร้าน)
- MICHELIN bib gourmand = 196 ร้าน (ติดอันดับครั้งแรก 29 ร้าน และมาจาก MICHELIN Selected 3 ร้าน)
- MICHELIN Selected = 216 ร้าน (ติดอันดับครั้งแรก 37 ร้าน)
ในเกณฑ์การประเมินของทางมิชลินโดยผู้ตรวจสอบก็จะประเมินโดย 5 หลักที่สำคัญ ในการตัดสินรางวัลดังนี้ 1. คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ 2. ความโดดเด่นของรสชาติและเทคนิคการรังสรรค์อาหาร 3. เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเชฟที่นำเสนอผ่านมื้ออาหาร 4. ความคุ้มค่าสมราคา และข้อสุดท้าย 5. รสชาติอาหารและความคงที่ของประสบการณ์ในการทาน
ร้านอาหารมิชลิน ไกด์ 1 ดาวมีร้านไหนบ้าง?
- Jay Fai (เจ๊ไฝ)
- Signature (ซิกเนเจอร์)
- Nahm (น้ำ)
- IGNIV (อิกนิฟ)
- Chim by Siam Wisdom (ชิม บาย สยามวิสดอม)
- Haoma (ฮาโอมา)
- Sanah Jaan (เสน่ห์จันทน์)
- Sushi Masato (ซูชิ มาซาโตะ)
- Aksorn (อักษร)
- Canvas (แคนวาส)
- 80/20 (เอ็ทตี้ ทเวนตี้)
- Cadence by Dan Bark (เคเดนซ์ บาย เเดน บาร์ค)
- Khao Ekkamai (ข้าว เอกมัย)
- Elements, Inspired by Ciel Bleu (เอเลเมนท์ อินสไปร์ บาย เชล เบลอ)
- Potong (โพทง)
- PRU (พรุ)
- Côte by Mauro Colagreco (โค้ท บาย เมาโร โคลาเกรคโค)
- Maison Dunard
- Le Normandie by Alain Roux (เลอ นอร์มังดี บาย อลัง รูซ์)
- Suan Thip (สวนทิพย์)
- Blue by Alaib Ducasse (บลู บาย อลัง ดูคาส)
- Le Du (ฤดู)
โดยนอกจากนี้ก็ยังมีร้านอาหาร 1 ดาวมิชลินมาใหม่ ที่ติดอันดับในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย’ เป็นครั้งแรก ทั้งหมด 6 ร้านอาหาร โดย 3 ร้านอาหารจะเป็นร้านอาหารที่ติดเป็นครั้งแรก ส่วนอีก 3 ร้านอาหารก็ได้เลื่อนระดับจากเดิมที่อยู่ใน MICHELIN Selected หรือ ร้านอาหารแนะนำโดยมิชลิน อาทิ
- Inddee (อินดี) *ติดเป็นครั้งแรก ร้านอาหารอินเดียสมัยใหม่ที่นำเสนอรายการอาหารชุดแบบ Set Menu ที่จะพาทุกคนไปตามแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียผ่านเมนูย่างเตาถ่านเป็นหลัก
- Nawa (นว) *ติดเป็นครั้งแรก ร้านอาหารไทยร่วมสมัยที่นำเสนออาหารภายใต้แนวคิดนวัตกรรม โดยใช้เทคนิคใหม่ในการรังสรรค์อาหารไทยแต่ยังคงรสชาติอาหารภาคกลางดั้งเดิมที่เรียบง่ายทว่าซับซ้อน ร้านนี้เสิร์ฟ Tasting Menu ตามฤดูกาล ซึ่งประกอบด้วยอาหารเรียกน้ำย่อยขนาดพอดีคำ (Finger Food) และอาหารจานหลักแบบสำรับหลายรายการ
- Samrub Samrub Thai (สำรับสำหรับไทย) *ติดเป็นครั้งแรก ร้านอาหารไทยที่นำเสนอ Tasting Menu จากการพลิกแพลงสูตรตำราอาหารหายากให้มีความเป็นไทยโบราณใหม่ตามยุคสมัย ได้รสชาติไทยแท้กรุ่นกลิ่นหอมระคนกัน โดยเมนูของร้านจะปรับเปลี่ยนทุกสองเดือน
- Mia (มีอา) *เลื่อนระดับจาก MICHELIN Selected ร้านอาหารที่นำเสนออาหารยุโรปสไตล์โมเดิร์นเปี่ยมกลิ่นอายความเป็นเอเชียแบบ 5 หรือ 8 คอร์ส ผ่านเมนู “Taste of Mia” ตามฤดูกาลที่โดดเด่นด้วยรสชาติกลมกล่อมซับซ้อน นอกจากนี้ ยังมีเมนูวีแกนและมังสวิรัติให้เลือก พร้อมทั้งให้บริการจับคู่อาหารกับค็อกเทล ม็อกเทล หรือไวน์
- Resonance (เรโซแนนซ์) *เลื่อนระดับจาก MICHELIN Selected ร้านอาหารที่นำเสนอ Tasting Menu ตามฤดูกาล และนำนักชิมเดินทางผ่านอาหารจานพิเศษซึ่งรังสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจที่เชฟได้รับจากการเดินทางไปทำงานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่นี่ยังมีบริการจับคู่อาหารกับชา (Tea Pairing) เมื่อแจ้งล่วงหน้าเท่านั้นด้วย
- Wana Yook (วรรณยุค) *เลื่อนระดับจาก MICHELIN Selected ร้านอาหารที่เสิร์ฟ Tasting Menu อาหารไทยร่วมสมัยตามฤดูกาลซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก “ข้าวแกง” หรือ “ข้าวราดแกง” โดยแต่ละคอร์สเลือกใช้พันธุ์ข้าวจากหลากหลายท้องถิ่นทั่วประเทศ
ร้านอาหารมิชลิน ไกด์ 2 ดาวมีร้านไหนบ้าง?
- Sorn (ศรณ์)
- Mezzaluna (เมซซาลูน่า)
- R-Haan (อาหาร)
- Suhring (ซูห์ริง)
- Chef’s Table (เชฟส์เทเบิล)
สำหรับรางวัลร้านอาหารมิชลิน 2 ดาว ในคู่มือประจำปี 2567 ก็ยังมี 2 ร้านอาหารมาใหม่ ที่ได้รับการเลื่อนระดับจาก 1 ดาวมิชลิน ไม่ว่าจะเป็น
- Baan Tepa (บ้านเทพา) *เลื่อนระดับจาก 1 ดาว ร้านอาหารไทยร่วมสมัยที่นำแนวคิด Farm to Table มาใช้รังสรรค์อาหารชุด Tasting Menu ซึ่งจัดแต่งอย่างพิถีพิถันสวยงาม โดยเลือกใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลทั้งที่ปลูกเองและที่ปลูกโดยผู้ผลิตที่คำนึงถึงความยั่งยืน
- Gaa (กา) *เลื่อนระดับจาก 1 ดาว ร้านอาหารอินเดียร่วมสมัยที่ผสานศาสตร์การทำอาหารแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคนิคและการนำเสนอแบบสมัยใหม่ เสิร์ฟอาหารที่ผ่านการปรุงโดยใช้ทักษะและความประณีต ใส่เครื่องเทศอย่างพอเหมาะ ให้รสชาติที่ลุ่มลึกด้วยเนื้อสัมผัสที่แตกต่างและการควบคุมอุณภูมิที่ดี
ร้านอาหารมิชลิน MICHELIN Green Star มีร้านไหนบ้าง?
สำหรับรางวัล MICHELIN Green Star หรือ ดาวมิชลินรักษ์โลก เป็นรางวัลที่มอบให้กับร้านอาหารซึ่งดำเนินกิจการและมีแนวปฏิบัติประจำวันด้านการประกอบอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยก็ได้มีทั้งร้านอาหารที่ยังคงรักษารางวัลนี้ถึง 3 ร้านอาหาร รวมไปถึง 1 ร้านอาหารที่ร่วมครองรางวัลนี้อีก 1 ร้านอีกด้วย
- PRU (พรุ)
- Jampa (จำปา)
- Haoma (ฮาโอมา)
- J’AIME by Jean-Michel Lorian (เเฌม บาย ณอง-มิเชล โลรองต์) ร้านอาหารฝรั่งเศสสุดสร้างสรรค์ที่เชฟและทีมงานให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยไม่เพียงเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ผลิตในไทย แต่ยังตรวจสอบแนวทางปฏิบัติงานในครัวอย่างเข้มงวดสม่ำเสมอ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการขยะ การรีไซเคิล ไปจนถึงโครงการริเริ่มอื่น ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
รางวัลพิเศษมิชลิน มีรางวัลอะไรบ้าง?
ความพิเศษของปีนี้คือการที่ทางคู่มือ มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ยังได้มีการมอบรางวัลพิเศษอีก 4 รางวัล ให้กับบุคลากรมืออาชีพจากร้านอาหารที่ติดอันดับในคู่มือฯ ซึ่งมีความสามารถโดดเด่นและมีบทบาทในการยกระดับประสบการณ์ด้านอาหารให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมด้านอาหารและบริการเป็นที่น่าสนใจและน่าทำงาน
รางวัล MICHELIN Young Chef Award
สำหรับรางวัล MICHELIN Young Chef Award เป็นรางวัลพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนโดย “บลองแปง” (Blancpain) แบรนด์นาฬิกาจากสวิตเซอร์แลนด์ รางวัลนี้มอบให้กับสุดยอดเชฟรุ่นใหม่ของร้านอาหารระดับดาวมิชลินที่มีทักษะความสามารถโดดเด่น โดยผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2567 คือ เชฟ “ตาม” ชุดารี เทพาคำ จากร้านบ้านเทพา
เชฟตามเป็นเชฟหญิงไทยที่ถือเป็นดาวรุ่งที่มาแรงและมีอนาคตไกล หลังสั่งสมประสบการณ์จากร้านอาหารชั้นนำอย่าง Gaggan, Water Library Group และทำงานในตำแหน่ง Chef de Partie ณ ร้าน Blue Hill at Stone Barns ในนครนิวยอร์ก เธอได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยและสร้างปรากฎการณ์น่าทึ่งให้กับแวดวงร้านอาหารในไทยเมื่อร้านบ้านเทพาของเธอก้าวขึ้นคว้ารางวัล ‘1 ดาวมิชลิน’ มาครองในฐานะร้านหน้าใหม่ในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2566 และล่าสุดในปีถัดมายังสามารถเลื่อนระดับสู่รางวัล ‘2 ดาวมิชลิน’ ได้สำเร็จ
รางวัล MICHELIN Opening of the Year Award
MICHELIN Opening of the Year Award เป็นรางวัลพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนโดยธนาคารยูโอบี(UOB) รางวัลนี้มอบให้กับบุคลากรและทีมงานซึ่งประสบความสำเร็จในการเปิดร้านอาหารใหม่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมีแนวคิดที่โดดเด่นในการนำเสนออาหารอย่างสร้างสรรค์ จนกลายเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากวงการอาหารในประเทศ สำหรับผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2567 คือ วิชชุพล เจริญทรัพย์ เจ้าของร้านนว
โดยร้านนว เปิดตัวเมื่อต้นปี 2566 และติดอันดับร้านระดับรางวัล ‘1 ดาวมิชลิน’ ในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ประเทศไทย ฉบับล่าสุด โดยคุณณพล จันทรเกตุ หรือ เชฟโจ และคู่ชีวิตของเขา เชฟซากิ ฮาชิโนะ ดูแลในครัว ขณะที่คุณเนย์ วิชชุพล เจริญทรัพย์ ทำหน้าที่ดูแลหน้าร้าน ทั้งสามคนเป็นทีมที่แข็งแกร่ง ร้านนวจึงเป็นร้านที่โดดเด่นและได้รับเลือกให้ครองรางวัล Opening of the Year Award ด้วยการรังสรรค์อาหารไทยภาคกลางรสชาติดั้งเดิมที่ผ่านการตีความใหม่ออกมาในแบบที่ทันสมัยและน่าสนใจ
รางวัล MICHELIN Service Award
MICHELIN Service Award เป็นรางวัลพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รางวัลนี้มอบให้สุดยอดบุคลากรของร้านอาหารที่ทุ่มเทให้กับการบริการเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การทานอาหารที่ยอดเยี่ยม สำหรับผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2567 คือ หลุยส์ บูร์ชัวส์ (Louise Bourgeois) จากร้านเชฟส์เทเบิล มิสบูร์ชัวส์ ผู้จัดการร้านเชฟส์เทเบิล ให้การต้อนรับแขกผู้มาเยือนอย่างอบอุ่นและดูแลให้บริการอย่างใส่ใจ ความสุภาพและเป็นกันเองของเธอสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นมิตร ขณะเดียวกันบุคลิกความเป็นผู้นำที่โดดเด่นในฐานะผู้จัดการร้านยังส่งผลต่อการให้บริการของทีมงานอย่างมืออาชีพด้วย
รางวัล MICHELIN Sommelier Award
MICHELIN Sommelier Award เป็นรางวัลที่มอบให้กับ “ซอมเมอลิเยร์” หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น โดยให้บริการอย่างมืออาชีพ และมีความชำนาญในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับไวน์ชนิดต่าง ๆ รวมถึงการจับคู่ไวน์กับเมนูอาหาร เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ด้านอรรถรสสูงสุด โดยผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2567 คือ ธนากร บอทอร์ฟ จากร้านอินดี
คุณธนากรเป็น “ซอมเมอลิเยร์” หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น สามารนำเสนอและแนะนำไวน์ที่คัดสรรมาให้เลือกมากถึง 600 ประเภท ซึ่งรวมถึงไวน์ที่เสิร์ฟเป็นแก้วเกือบ 60 ประเภท โดยจัดทำรายการไวน์พร้อมตั้งคำถามสนุก ๆ ให้ได้ทายและเรียนรู้เกี่ยวกับไวน์ เขาไม่เพียงให้บริการอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง แต่ยังเป็นนักสื่อสารที่ดีในเรื่องไวน์ ทั้งยังไม่เพียงจับคู่ไวน์ได้เหมาะกับอาหาร แต่ยังแนะนำไวน์อย่างใส่ใจและคำนึงถึงรสนิยมของลูกค้า
นอกจากจะมีรายชื่อของร้านอาหารที่ได้รางวัลติดดาวและรางวัลพิเศษต่างๆ ที่ได้บรรจุลงใน มิชลิน ไกด์ 2567 ฉบับที่ 7 ของประเทศไทยแล้ว ยังได้มีการบรรจุข้อมูลโรงแรมที่พักทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกซึ่งผ่านการคัดสรรว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นเอาไว้ด้วย ซึ่งก็สามารถไปติดตามกันต่อได้ที่ คู่มือ มิชลิน ไกด์ ฉบับประเทศไทย 2567 ทางเว็บไซต์ของ Michelin Guide ได้เลย
สามารถติดตามโปรโมชั่น ที่ไม่ควรพลาดได้ที่ Facebook : Hungry Hub แอปจองมื้อพิเศษอันดับ 1 ของไทย
อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่