Food Delivery platform, Hungry Hub ช่วยร้านอาหารในช่วงโควิด19 เก็บค่าคอมมิชชั่นแค่10% สร้างรายได้ให้ ร้านอาหาร ที่เข้าร่วมโครงการไปแล้วกว่า 6 ล้านบาท เพิ่งพัฒนาระบบได้แค่เดือนเดียว
ช่วงโควิด19 นี้ร้านอาหารต่างมองหา Food Delivery platform เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่าย หลายคนในวงการธุรกิจอาหารอาจจะรู้จัก Hungry Hub สตาร์ทอัพไทยไฟแรงที่มีโมเดลธุรกิจแนวใหม่ โดยเปลี่ยนรูปแบบของเมนู A-la-Carte ให้เป็นเมนูบุฟเฟ่ต์ที่มี Fix-Price Promotion ไม่เหมือนใคร
มีร้านดังที่เข้าร่วมแพลตฟอร์ม เช่น Audrey Cafe, Arno’s Butcher and Eatery, Another Hound, Paul Bakery และ Vertigo Too เป็นต้น ซึ่งลูกค้าสามารถคุมงบได้ก่อนเข้าไปทานร้านหรูดังกล่าว และหากจะใช้บริการต้องจองผ่าน Hungry Hub เท่านั้น
เมื่อเข้าสู่ช่วงวิกฤต Covid-19 ร้านอาหารต่างๆ ต้องเจอปัญหามากมายไม่ว่าจะต้องปิดร้าน ไม่มีรายได้ แต่ยังคงต้องจ่ายค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงานอยู่ จึงทำให้ Hungry Hub รีบปรับ Business Model ใหม่จากระบบจองมาทำเป็น Delivery แทน เพื่อช่วยร้านอาหารเดิมที่อยู่ในระบบให้มีช่องทางหารายได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยร้านอาหารอื่นๆ ที่อยากทำ Delivery แต่ไม่มีระบบ โดยปัญหาหลักในตลาด Delivery คือการที่ร้านอาหารถูกเก็บค่า GP จาก Application Delivery เช่น Grab Food หรือเจ้าอื่นๆ ในตลาดสูงถึง 30-35% (ยังไม่รวม Vat7%) ยังไม่รวมค่าส่ง ดังนั้นถึงแม้จะขายได้ แต่ก็แทบไม่เหลือกำไร
จุดเด่นของ Hungry Hub ที่แตกต่างจากคู่แข่ง คือเน้นขายเป็น “Set Menu” ไซส์สำหรับ 2-4 คนทาน ขึ้นอยู่กับแต่ละแพคเกจ โดยเริ่มต้นที่ 399 บาท ลูกค้าจะได้รับส่วนลด 10-30% พร้อมตัวเลือกหลากหลายจากร้านอาหารชั้นนำ ฟรีค่าจัดส่ง 3 กิโลเมตรแรก ต่อไปกิโลเมตรละ 10 บาท
โดย Product ตัวใหม่นี้ชื่อ Hungry@Home ที่สำคัญคือคิดค่าคอมมิชชั่น แค่ 10.7% (รวม VAT7%) ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไว้แล้ว เพื่อมาช่วยร้านอาหารจัดส่ง ที่สำคัญที่สุดคือช่วยทำการตลาดเพื่อโปรโมทร้านให้มียอดขายเพิ่มขึ้น โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย อื่นๆเพิ่มเติม
ช่วยให้ร้านได้กำไรมากขึ้นโดยขายอาหารเป็นเซ็ท เก็บค่าคอมมิชชั่นแค่ 10.7%
อันนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด หลายๆ ครั้งที่เราเห็นว่า App Food Delivery จะเน้นทำโปรโมชั่นค่าส่งถูกๆ ซึ่งไม่ยั่งยืน ผลดีนั้นอยู่ที่ผู้บริโภค แต่ฝั่งของร้านค้า ค่าใช้จ่ายพวกนี้จะไปแฝงอยู่ในค่าคอมมิชชั่น จึงไม่แปลกใจเลยที่แพลตฟอร์มอย่าง Foodpanda, Grab Food จะเก็บสูงถึง 30-35% เพื่อเอาไปจ่ายให้คนขับ
ในขณะที่ฝั่งทาง Hungry Hub นั้นเราจัดอาหารขายเป็นเซ็ทใหญ่และปรับค่าคอมมิชชั่นให้สมเหตุสมผล พร้อมทำการตลาดให้เรียบร้อย เก็บเพียง 10.7% และออกค่าธรรมเนียม 3% สำหรับลูกค้าที่จ่ายด้วยบัตรเครดิต เพื่อให้ร้านอยู่รอดผ่านช่วงโควิด19 ไปด้วยกัน
สำหรับลูกค้าฟรีค่าส่ง 3 กม.แรก โดยร้านอาหารช่วยออกค่าส่ง 50 บาท, Hungry Hub ออก 20 บาท สำหรับออเดอร์ที่ลูกค้าเลือก Self-pickup หรือทางร้านขอจัดส่งเอง จะไม่เสีย 50 บาท
กรณีระยะทางส่งเกิน 3 กม. ลูกค้าออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินตามระยะทางจริง สรุปค่าใช้จ่ายที่ร้านต้องเสียให้ Delivery platform ของ Hungry Hub ถูกกว่าที่อื่นๆ 2-3 เท่า
Rider คือสิ่งสำคัญ เราเน้นเรื่องการจัดส่งเพื่อให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ Delivery ที่ดีที่สุด
เจ้าของร้านอาหารหลายร้านมีความถนัดอยู่ที่การทำอาหาร ซึ่งถ้าร้านต้องมาทำเอง เช่น รับออเดอร์เอง อาจจะเกิดปัญหาจดออร์เดอร์ผิด หรือทำการจัดส่งเอง อาหารเกิดความเสียหายระหว่างจัดส่ง ดังนั้น Hungry Hub จะมาช่วยเป็นตัวกลางทำสิ่งเหล่านี้
เราพร้อมช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็น การเรียกรถขนส่งให้, ดูแลระบบการจัดการ, เคลมสินค้าให้ เพื่อร้านอาหารจะได้ทำสิ่งที่ถนัดได้อย่างเต็มที่ โดยเราเลือกใช้ Partner ที่มากประสบการณ์อย่าง Lalamove ในเรื่องขนส่ง
แม้ราคาจะไม่ได้ถูกที่สุด แต่รถทุกคันมีกล่องใส่อาหาร พนักงานบริการดี มี Call Center เพื่อให้ลูกค้าได้รับอาหาร และประสบการณ์ Delivery ที่ดีที่สุด
พร้อมช่วยทุกร้านและให้คำแนะนำในการทำโปรโมชั่น
สำหรับร้านอาหารที่สนใจ สามารถเข้ามาคุยกันได้เราพร้อมช่วยทุกร้าน ด้วยประสบการณ์ที่ทำมามากกว่า 100 ร้าน ในช่วงนี้เราพร้อมแชร์ประสบการณ์และให้คำแนะนำในการจัดเซ็ตเมนูและโปรโมชั่นในการขาย จาก Database ที่เราเก็บมาตลอดตั้งแต่ช่วงเริ่มCovid-19 ‘สุรสิทธิ์ สัจจะเดว์’ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HUNGRY HUB กล่าว
จ่ายเงินให้ร้านเดือนละ 2 รอบ เพื่อให้ร้านไปหมุนเงินได้
ยิ่งช่วงนี้หลายๆ ร้านไม่มี Dine-in เลย จึงต้องการ Cash Flow ในการใช้จ่ายของร้าน และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำอาหาร ไม่ต้องไปตรวจสอบการโอนเงินของลูกค้าก่อนเริ่มทำอาหาร
โดย Hungry Hub พัฒนาระบบการชำระเงินแบบ Prepaid ให้ลูกค้าชำระเข้ามาใน Hungry Hub ก่อน แล้วจะเคลียร์กับร้านเดือนละ 2 รอบ หรือถ้าเกิดร้านไหนขายดี ก็จะเคลียร์ให้อาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้ร้านนำเงินไปใช้หมุนเวียนนธุรกิจต่อไป
ทำการตลาดให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพิ่มช่องทางโปรโมทผ่าน Influencers และ Blogger
นอกจากโปรโมชั่นและโมเดลใหม่ๆ แล้ว สิ่งที่ทำให้ Hungry Hub น่าสนใจมากขึ้นคือการทำการตลาดผ่าน Marketing Partner ไม่ว่าจะเป็น Influencer , YouTuber และ Blogger ต่างๆ ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่หลักหมื่นยันหลักล้าน
ซึ่งตรงนี้ Hungry Hub จัดการให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งถือเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ของร้านอาหารได้เป็นอย่างดี
อีกหนึ่ง Delivery แพลตฟอร์ม ที่น่าสนใจ หากร้านอาหารสามารถเริ่มทำเซ็ทถูกสุดที่ 500 บาท ยังมีเงินเหลือเก็บเพิ่มอีก 20% ซึ่งมากกว่าการใช้ Food Delivery เจ้าอื่นๆ ซึ่งขณะนี้เรามีร้านอาหารชั้นนำเข้าร่วมคอร์สแบบ Hungry@Home (สั่งไปทานที่บ้าน) มากกว่า 100 ร้าน
ตั้งแต่ Copper Buffet ที่หันมาทำ Copper2GO, Rod Dee Ded Steak House, You&I Premium Suki Buffet เป็นเซ็ต Exclusive ขายเฉพาะ Hungry Hub เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมี Audrey Cafe, Penguin Eat Shabu, Arno’s Steak & Burger, อโณทัย By Arno’s, บุญตงกี่, Sheddo Sushi Cottage, Momo Paradise และร้านอื่นๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.hungryhub.com
ร้านอาหารที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
เพียงลงทะเบียนโดยกรอกฟอร์มที่นี่
……………………………………………………………………………………..
[AUDIO] ฟังเสียง
คุณสุรสิทธิ์ สัจจะเดว์ CEO ของ HungryHub ให้สัมภาษณ์ทาง FM 90.5 รายการเพาะกล้าธุรกิจ ตอน ‘Hungry Hub’ ช่วยร้านอาหารสร้างรายได้ช่วงวิกฤตโควิด-19