การทำ ร้านอาหาร ไม่ใช่แค่มีรสมือดี ทำอาหารอร่อย แล้วร้านจะอยู่รอด เพราะในความเป็นจริงแล้ว การเปิดร้านอาหารหนึ่งร้าน จะตามมาด้วยปัญหาจุกจิกมากมาย หลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น หากเจ้าของร้านอาหารไม่เตรียมตัวรับมือให้ดี หรือมองข้ามปัญหาไม่ยอมแก้ไข อาจทำให้ร้านถึงขั้นเจ๊งได้เลยทีเดียว
วันนี้ Hungry Hub ได้รวม 6 ปัญหาพื้นฐานที่เจ้าของร้านอาหารจะต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือไว้ในบทความนี้แล้ว
6 ปัญหาพื้นฐานที่เจ้าของ ร้านอาหาร ต้องเจอ
1. เกิด Food Waste ขยะวัตถุดิบเต็มร้าน
ในการทำร้านอาหาร มักจะมีปัญหา Food Waste หรือวัตถุดิบเหลือทิ้ง โดย Food Waste นี้ ไม่ใช่แค่อาหารที่ลูกค้ากินไม่หมด แต่ยังเกิดตั้งแต่ก่อนปรุงอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ที่เหลือที่เหลือจากการตัดแต่ง ขอบขนมปัง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เจ้าของร้านมักจะไม่ให้ความสำคัญ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว ยิ่งเกิด Food Waste มาก ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนของร้านสูงตามไปด้วย
แนวทางการแก้ไขปัญหา เริ่มต้นจากการสำรวจว่าแต่ละเมนูที่ปรุง ทำให้เกิดวัตถุดิบใดเหลือบ้าง ปริมาณมากน้อยแค่ไหน จากนั้นหาไอเดียนำวัตถุดิบเหล่านั้นมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ที่น่าสนใจ เช่น หัวกุ้งที่เหลือนำไปทำคางกุ้งทอดกรอบปรุงรส เศษผลไม้ที่เหลือจากการตัดแต่ง นำไปทำเครื่องดื่มม็อกเทล เศษขอบขนมปังนำไปทำของหวาน เฟรนช์โทสต์รังผึ้ง เป็นต้น ช่วยลดปัญหาวัตถุดิบเหลือทิ้งได้ อีกทั้งยังเพิ่มรายได้ให้ร้านอาหารได้อีกด้วย
2. ขายไม่ดี ลูกค้าใหม่ไม่เข้า ลูกค้าเก่าไม่กลับมา
ปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร คือการไม่มีลูกค้าเข้าร้าน ไม่มีลูกค้าหน้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการ รวมถึงไม่เห็นลูกค้าเก่ากลับมาใช้ซ้ำ เมื่อร้านอาหารมั่นใจในฝีมือการปรุงอาหารแล้วว่าอร่อยชัวร์ ต้องลองกลับมาดูที่เมนูอาหารของร้านว่าตอบโจทย์ลูกค้าแล้วหรือยัง มีความหลากหลายหรือมีความน่าสนใจหรือไม่ รวมถึงมีการโปรโมทร้านมากพอแล้วหรือยัง
แนวทางการแก้ไขปัญหา อาจเริ่มจากการปรับเมนูให้มีความน่าสนใจ เช่น เปลี่ยนชื่อเมนู ปรับรูปแบบการจัดจานให้ดูแปลกใหม่ ลงทุนถ่ายรูปสวย ๆ เพื่อใช้โปรโมท รวมถึงทำโปรโมชั่นที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการ
3. ลงทุนทำการตลาด แต่ไม่รุ่ง
หลาย ๆ ร้านอาหารคงให้ความสำคัญการทำการตลาด เพื่อโปรโมทร้านอาหารและเรียกลูกค้า ไม่ว่าจะสร้างแอคเคาท์โซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมททางออนไลน์ ลงทุนถ่ายรูปเมนูสวย ๆ ทำกิจกรรมร่วมสนุก รวมถึงคิดโปรโมชั่นสุดคุ้ม ทั้งลด ทั้งแถม แต่ก็ยังไม่ปัง คนเข้าถึงน้อย หรือไม่มีคนสนใจ
แนวทางการแก้ไขปัญหา เมื่อทำการตลาดเองแล้วคนเข้าถึงน้อย ลองแบ่งงบการตลาดไปใช้กับ Influencer ให้มารีวิวร้านอาหารของเรา ช่วยเพิ่มโอกาสให้ร้านเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้ เพราะ Influencer จะมีฐานแฟนคลับ หรือมีผู้ติดตามจำนวนมาก อีกทั้งการที่ร้านถูกพูดถึงโดย Influencer จะช่วยเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือได้ดีกว่าเราโปรโมทตัวเอง ทำให้เกิดความอยากลอง อยากไปตามรีวิว
4. ควบคุมต้นทุนไม่ได้
หัวใจสำคัญของการทำร้านอาหาร ไม่ใช่แค่มีลูกค้าเยอะ ๆ มียอดขายมาก แต่ต้องดูเรื่องต้นทุนควบคู่ไปด้วย ซึ่งปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร คือการควบคุมต้นทุนไม่ได้ อาจเกิดจากการมีพนักงานมากเกินจำเป็น วัตถุดิบราคาสูง วัตถุดิบเหลือทิ้งจากการบริหารสต๊อกไม่ดี เป็นต้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา เจ้าของธุรกิจจะต้องรู้ต้นทุนทั้งหมดภายในร้าน ทั้ง Fixed Cost หรือ ค่าใช้จ่ายที่ร้านต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าเช่า ค่าแรงพนักงาน เป็นต้น และ Variable Cost หรือ ต้นทุนแปรผัน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส เป็นต้น ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบนี้เอง มักจะเป็นตัวแปรสำคัญที่บอกว่าธุรกิจจะได้กำไรมากน้อยแค่ไหน หากร้านสามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาที่ต่ำกว่าปกติ มี Supplier ที่ให้ดีลพิเศษ จะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลง และทำให้ร้านมีกำไรมากขึ้น
5. ลูกค้ารอหน้าร้านนาน ๆ
เมื่อร้านเริ่มเป็นที่รู้จัก มีลูกค้าจำนวนมาก ๆ มักจะมีปัญหาของการบริหารจัดการตามมา เช่น ลูกค้ารอหน้าร้านนาน ๆ ไม่มีการจัดการคิวที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจบุฟเฟ่ต์ที่ใช้เวลานานในหมุนเวียนโต๊ะ อาจทำให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีกับลูกค้าได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา อาจเริ่มจากเพิ่มโซนที่นั่งรอคิว เพื่อให้มีจุดรอคิวที่สะดวกสบาย ไม่ต้องยืนรอนาน ๆ ในระหว่างที่รอก็ให้ลูกค้าเลือกเมนูไว้ก่อน เมื่อถึงคิวจะได้ไม่ต้องรออาหารออกนาน หรือเลือกใช้ระบบการจองคิวแบบออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า รวมถึงร้านจะได้เตรียมตัวบริหารจัดการคิวได้ถูกต้อง
6. ปัญหาสต๊อกวัตถุดิบขาด/ล้น
การบริหารจัดการสต๊อกเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร หากมีการจัดการสต๊อกไม่ดี อาจเกิดปัญหาวัตุดิบขาด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้เสียโอกาสในการขาย หรือสต๊อกวัตถุดิบมากเกินไป เกินความจำเป็น ทำให้วัตถุดิบระบายไม่ทัน เน่าเสียก่อนที่จะได้ขาย
แนวทางการแก้ไขปัญหา ร้านอาหารควรหมั่นตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการบริหารจัดการสต๊อกอย่างเป็นระบบ ทั้งการจัดตารางสั่งซื้อวัตถุดิบ การจดบันทึกวันหมดอายุ เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุดิบบางชนิดเน่าเสีย สำหรับวัตถุดิบบางชนิดที่มีต้นทุนสูง อาจเลือกบริการแบบ Pre-order ให้มีการจองล่วงหน้าแทน
จะเห็นว่า ปัญหาพื้นฐานเหล่านี้ เป็นปัญหาปวดหัวของเจ้าของ ร้านอาหาร ที่จะต้องหาทางแก้ไข…จะดีกว่าไหม หากมีผู้ช่วยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้
Hungry Hub แพลตฟอร์มจองร้านอาหาร เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน ด้วยระบบจองโต๊ะที่ใช้งานง่าย ทีมงานที่มีความเข้าใจในธุรกิจอาหารหลากหลายประเภท มีการทำโปรโมชันที่โดดเด่น มีฐานลูกค้าที่ใช้งานแอปพลิเคชัน มีการทำการตลาดที่วัดผลได้ ไปจนถึงมีพันธมิตร Supplier ที่หลากหลาย ช่วยแก้ปัญหาร้านอาหารได้อย่างรอบด้าน
หากร้านอาหารสนใจเข้าร่วม Hungry Hub หรือ อยากทำความรู้จัก Hungry Hub ให้มากขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก
อ่านบทความสำหรับผู้ประกอบการ ธุรกิจร้านอาหาร เพิ่มเติม
Hungry Hub คืออะไร? ทำไมถึงเลือกใช้ สามารถสร้างยอดขายได้อย่างไร?