อย่างที่รู้ๆ กันว่าวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้มีการ ปลดล็อกกัญชา และ กัญชง ออกจากพืชที่เป็นประเภทยาเสพติด ซึ่งก็จะสามารถปลูกเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือน และเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ทำอาหาร หรือ เครื่องสำอางได้ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อนนำมาใช้ แต่จะต้องแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน ปลูกกัญ ขององค์การอาหารและยา (อย.)
โดย กัญชา และ กัญชง จะถูกปลดล็อกให้ออกจากการเป็น สารเสพติดประเภทที่ 5 โดยสามารถใช้ได้ทุกส่วน และจะต้องเป็นส่วนที่มี THC (Tetrahydroconnabinol) สารที่ฤทธิ์ต่อจิตประสาทสามารถพบได้ในกัญชา ที่ส่งผลทำให้คนเคลิบเคลิ้ม ไม่เกิน 0.2 เท่านั้น หากมากกว่านั้นจะยังคงเป็นสารเสพติดอยู่ แล้วที่นี่ อะไรที่สามารถทำได้ หรือ ไม่ได้วันนี้ Hungry Hub จะพาไปหาคำตอบในบทความนี้กันครับ
รู้หรือไม่
ในปี 2569 ตลาดกัญชงถูกกฎหมาย จะมีการเติบโตมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 15,000 ล้านบาท และมูลค่าตลาดกัญชาที่ถูกกฎหมายทั่วโลกมีมูลค่าสูงกว่า 500,000 ล้านบาท ส่วนกัญชาในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพสร้างรายได้ถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าทั้งหมด
อ้างอิงจาก ผลการวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปี 2564
3 เป้าหมายของการ ปลดล็อกกัญชา
- เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการรักษาทางการแพทย์
- ส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและตำรับยาไทย
- เพื่อสร้างรายได้ให้ให้แก่ประชาชน และทางเลือกในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง แต่ไม่มีการส่งเสริมให้ใช้ในทางที่ผิดกฏมาย
สามารถทำอะไรได้
- สามารถปลูกต้นกัญชา ในครัวเรือนได้แต่ จะต้องปลูกในพื้นที่ที่เป็น รั้วรอบขอบชิด ไม่จำกัดจำนวนต้น และไม่สามารถปลูกในพื้นที่สาธารณะได้ ทั้งนี้จะต้องขออนุญาตและแจ้งการปลูกที่ แอปพลิเคชัน ปลูกกัญ ของทาง อย.
- สามารถซื้อและนำเข้าในประเทศได้ ต้องขออนุญาตผ่าน พ.ร.บ.พันธุ์พืช จาก กรมวิชาการเกษตร
- สามารถนำส่วนของต้นกัญชามาใช้ในการบริโภคได้ เช่น เมล็ด เปลือก ลำต้น เส้นใย แต่จะต้องเป็นส่วนที่มีสาร THC ไม่เกิน 0.2 หากเกินกว่านั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
ไม่สามารถทำอะไรได้
- ไม่สามารถสูบหรือเสพเพื่อการสันทนาการได้
- ไม่สามารถนำกัญชาออกนอกประเทศ หรือ นำเข้าจากต่างประเทศได้ หากเป็นกรณีนำเข้าสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ เพื่อการศึกษาวิจัย และ ทางการแพทย์ โดยต้องขออนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
- ไม่สามารถโฆษษาเพื่อการพาณิชย์
- ไม่สามารถขายให้กับกลุ่มบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หากฝ่าฝืนจะถูกโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
ทั้งนี้กฎหมายยังอยู่อยู่ในขั้นตอน เสนอร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง อาจจะต้องรอติดตามกันต่อไป รวมไปถึงการ ปลดล็อกกัญชา ในครั้งนี้เป็นเพียงการปลดเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และทางเศรฐกิจ ดังนั้น กัญชา เปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม ก็จะไม่ส่งผลเสียใดๆต่อร่างกาย
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มติชน ออนไลน