ประชาชาติธุรกิจเผย หลังคลายล็อกโควิด ลูกค้าร้านอาหารเริ่มกลับมาถึง 90% และ หันมาเลือกบริโภค บุฟเฟ่ต์ มากกว่า a la carte ส่งผลให้แบรนด์ใหญ่ปรับตัว เสริมทัพโปรโมชั่นจับ ธุรกิจบุฟเฟ่ต์ และใช้ Hungry Hub เป็นตัวกลางในการทำโปรโมชั่นบุฟเฟ่ต์และระบบจองโต๊ะล่วงหน้า เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้มากที่สุด
หลังจากคลายล็อคดาวน์ได้ระยะหนึ่ง ประชาชาติธุรกิจ ได้เผยข้อมูลที่หน้าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการร้านอาหารว่า ปัจุบันจำนวนลูกค้าได้ดีดกลับมาอยู่ในระดับ 80-90% ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดที่จะมีการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะในช่วงเงินเดือนออกและวันเสาร์-อาทิตย์ จะเป็นช่วงเวลาที่คนเลือกจะจับจ่ายมากกว่าวันธรรมดา นอกจากนี้ประเภทที่ได้รับความนิยมมากกว่าใครเพื่อนก็เห็นจะเป็นร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ปิ้งย่าง-ชาบู ที่มีภาพของลูกค้าที่ต้องต่อคิวรอกินยาวเหยียด
ธุรกิจบุฟเฟ่ต์ มาแรงเกินคาด
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ แม้ว่าลูกค้าจะรัดเข็มขัดมากขึ้นในการใช้เงิน กำลังซื้อลดลงจากเศรฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นผลมาจากพิษโควิด แต่กลับทำให้ธุรกิจ ‘บุฟเฟ่ต์’ มีกระแสที่ดีขึ้น
สืบเนื่องมาจากสองกรณี อันดับแรกคือลูกค้ามีความระมัดระวังในการใช้เงินมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดแนวคิดในการเทียบราคาก่อนซื้อ ซึ่งลูกค้าเชื่อว่า การจ่ายราคาเดียวแต่ได้หลายจานแบบบุฟเฟ่ต์ มีความคุ้มค่ากว่า การจ่ายแบบ A la carte จานเดียว เพราะลูกค้าจะมองถึงความคุ้มค่าเป็นหลัก และที่สำคัญต้องคุมงบได้ รู้แน่นอนว่าจ่ายเท่าไหร่ (ไม่ต้องคอยคำนวนค่า VAT หรือ Service Charge ให้วุ่นวาย)
อันดับที่สองคือ ในช่วงโควิดที่ผ่านมา สถานการณ์หลายอย่างน่ากังวลเป็นอย่างมาก ห้างสรรพสินค้าปิด ร้านอาหารต่าง ๆ ปิด ส่งผลให้ลูกค้าเกิด ความอยาก / ความอั้น ที่พอสะสมนานเข้า ก็พร้อมที่จะระเบิด จึงเห็นได้ว่าวันแรกที่ร้านอาหารกลับมาเปิดตามปกติ จึงมีหลายคิวต่อกันบริเวณหน้าร้านอย่างเห็นได้ชัด
บุฟเฟ่ต์ โมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในขณะนี้
จากคำสัมภาษณ์ของ “บุญยง ตันสกุล” ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยผ่านประชาติธุรกิจ ว่า โมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุดคือ บุฟฟ่ต์ ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มปรับตัว จากขายแบบ A la carte ก็เริ่มทำโปรโมชั่นบุฟเฟ่ต์มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายกลุ่ม
ที่สำคัญ ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ บุฟเฟต์เป็นอาหารที่ผู้บริโภคคาดการณ์ค่าใช้จ่ายได้ว่าจะต้องควักกระเป๋ามากน้อยเท่าไหร่ และงบฯไม่บานปลาย เป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดี ทั้งราคาและความคุ้มค่า ทำให้ร้านประเภทนี้เติบโตขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจบุฟเฟ่ต์ ยังใช้การสื่อสารบนโลกออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก เข้ามาช่วยทำประชาสัมพันธ์และโปรโมชั่น ทำให้ลูกค้าสามารถรับรู้ได้
ประชาชาติธุรกิจยังเผยว่า จากปรากฎการณ์ดังกล่าวจะเห็นว่า แบรนด์ใหญ่ ๆ ได้เลือกใช้แอปพลิเคชั่น Hungry Hub เข้ามาเป็นตัวกลางในการจองโต๊ะล่วงหน้าและทำโปรโมชั่นบุฟเฟ่ต์ อาทิ ร้านอาหารในเครือฟู้ดแพชชั่น อย่าง เรดซัน รวมถึงแบรนด์ดัง เช่น ร้านยูแอนด์ไอ พรีเมียมสุกี้บุฟเฟ่ต์, ออเดรย์ คาเฟ่, คิงคอง ยากินิกุ บุฟเฟ่ต์ เป็นต้น
กระหน่ำ Promotion ดึงดูดลูกค้า!
ปัจจุบันเรามีพาร์ทเนอร์ที่เป็นร้านอาหารราว ๆ 450+ ร้าน โดยร้านอาหารส่วนใหญ่ จากเดิมที่เน้นอะลาคาร์ตได้หันมาเพิ่มเมนูประเภทบุฟเฟต์เสริม เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า ด้วยการใช้แอปพลิเคชั่น hungry hub เป็นตัวกลางในการจองโต๊ะล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าร้าน
เป็นที่น่าสังเกตว่า มีร้านอาหารชื่อดังอีกจำนวนมากที่ร่วมกับแอปพลิเคชั่นนี้ให้บริการเมนูแบบบุฟเฟต์ อาทิ ร้านอาหารเกาหลีเรดซัน ในเครือฟู้ดแพชชั่น ตามด้วยแบรนด์รายเล็ก เช่น ร้านยูแอนด์ไอ พรีเมี่ยมสุกี้บุฟเฟต์, ออเดรย์คาเฟ่, คิงคอง ยากินิกุ บุฟเฟต์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ทาง Hungry Hub ยังได้คอยมีแคมเปญสนุก ๆ ออกมาเอาใจลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ อย่างช่วงที่ผ่านมาก็จะมีทั้ง #ปังสุดรับหยุดยาว เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนได้ออกมาทานอาหารอร่อย ๆ และเป็นการพาครอบครัวไปทานข้าวนอกบ้าน โดยมีรายละเอียดคือใครก็ตามที่จองร้านผ่าน Hungry Hub และไปทาน จะได้รับแต้ม X2!!
ในส่วนของอนาคต ก็จะมีแคมเปญ 10.10 ที่เราได้เตรียมเอาไว้แล้ว นั่นก็คือ ถ้าลูกค้าจองร้านอาหารแล้วไปทานในช่วงวันที่ 9-15 ตุลาคม จะสามารถเลือกซื้ออาหารกลับบ้านได้ 1 อย่างในราคาแค่ 10 บาท! โดยทางเราขออุบไว้เป็นเซอร์ไพร์สว่าจะมีร้านอะไรบ้าง โดยสามารถติดตามรายละเอียดนี้ได้ที่หน้า Facebook ของเรา หรือบนหน้าเว็บไซต์ Hungry Hub
และผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดไม่ต้องน้อยใจไป เพราะเรากำลังขยายธุรกิจ โดยจะเริ่มต้นที่ จังหวัดภูเก็ต ก่อนเป็นที่แรก พร้อมกับแคมเปญคืนความคุ้มให้กับลูกค้าทุกท่านอย่างแน่นอน โปรดติดตามไว้ได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ