วันพืชมงคล 2566 จะตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 โดยในวันนั้นถือว่าเป็นวันหยุดราชการ และยังถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สำคัญเพื่อต้อนรับเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่อีกครั้งหนึ่ง รวมไปถึงยังเป็นการสร้างขวัญและและกำลังใจให้เกษตรกรไทย โดยในทุกๆปีนั้นจะมีพิธีการเสี่ยงทายจากพระโค หากพระโคเลือกกินอะไรก็จะทำนายเหตุการณ์ของปีนั้นๆอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ไม่รอช้าเราจะขอพาทุกคนไปดูกันว่า วันพืชมงคลนั้นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับเกษตรและการเพาะปลูก ในบทความนี้กัน
วันพืชมงคล 2566 ประวัติความเป็นมา และความสำคัญต่อการเกษตร
วันพืชมงคล หรือ พระราชพิธีพืชมงคล คือ พิธีทำขวัญและอธิษฐานสำหรับการเพาะปลูกพืชพรรณธัญญาอาหาร ที่พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ โดยมีพระสงฆ์จะทำการปลูกเสกเมล็ดพืชโดยเพื่อสร้างความเชื่อว่าเมล็ดพืชจะมีความแข็งแรง และเติบโตเพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค
ภายในวันเดียวกันก็ยังมีอีกหนึ่งพิธีนั้นก็คือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งจะเป็นพิธีที่จัดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต พระมหากษัตริย์ทรงเป้นผู้นำในพิธี เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตร ด้วยการบวงสรวงเทวดา โดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทาย คัดเลือกผู้หว่านไถ
นอกจากนี้วันพืชมงคล ก็เป็นอีกหนึ่งวันหยุดราชการของประเทศไทยในปี 2566 แต่จะไม่มีการหยุดสำหรับธนาคารและบริษัทมเอกชน โดยทั้งนี้ในแต่ละปีก็จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพฝนฟ้าอากาศที่เหมาะสม สภาพของดิน และปัจจัยอื่นๆที่เกีั่ยวข้องกัน
การตั้งสัตยาธิษฐานด้วยผ้า และ อาหาร 7 อย่างมีความหมายว่าอย่างไร?
การตั้งสัตยาธิษฐาน ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะใช้ผ้าลายจากพานโตก 3 ผืนในการทำนายปริมาณของน้ำฝนในช่วงระหว่างการเพาะปลูก โดยจะทำนายจากขนาดของผ้าโดย ดั้งนี้
- ผ้าความยาว 4 คืบ มีความหมายว่า น้ำจะมาในปริมาณมาก ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ดอนจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มจะเกิดความเสียหายและไม่ผลผลิตที่ไม่เต็มที่
- ผ้าความยาว 5 คืบ มีความหมายว่า น้ำจะมาในปริมาณที่เหมาะสม ข้าวหล้าในนา ผลาหาร มังสาหารจะได้ผลผลิตที่สมบูรณ์
- ผ้าความยาว 6 คืบ มีความหมายว่า น้ำจะมาในปริมาณที่น้อย ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ดอนจะบริบูรณ์ดี ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มจะเกิดความเสียหายบ้างและไม่ผลผลิตที่ไม่เต็มที่
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่ชาวนา หรือ ประชาชนให้ความสนใจไม่น้อยกว่าในเรื่องของปริมาณน้ำฝน นั้นก็คืออาหารสำหรับใช้ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพราะต้องมาลุ้นกันว่า ปี 2566 พระโคกินอะไร? โดยจะมีอาหารสำหรับเสี่ยงทายทั้งหมด 7 อย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ซึ่งจะมีความหมายดังนี้
- หากพระโคกิน ข้าว หรือ ข้าวโพด มีความหมายว่า ธัญญาหาร หรือ ผลาหาร จะมีความบริบูรณ์
- หากกิน ข้าว หรือ งา มีความหมายว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะมีความอุดมสมบูรณ์
- หากกินหญ้า หรือ น้ำ มีความหมายว่าน้ำท่า ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะมีความอุดมสมบูรณ์
- หากกินเหล้า มีความหมายว่าการคมนาคมจะเกิดความสะดวกมากขึ้น รวมไปถึงการค้าขายกับต่างประเทศจะมีความราบลื่น และเศรษฐกิจในประเทศจะมีความรุ่งเรือง
โดยคำทำนายของพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของปี 2565 ได้เป็นดังนี้ พระนาแรกหยิบผ้านุ่ง 4 คีบ และในช่วงพิธีเสี่ยงทายพระโค พระโคกินน้ำ หญ้า ถั่ว และเหล้า จึงได้ความหมายว่า ในปีนั้น ปริมาณน้ำจะมาในปริมาณมาก ทำให้ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ดอนเกิดความอุดมสมบูรณ์ แต่ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มจะเกิดความเสียหายไปบ้าง นอกจากนี้ ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ รวมไปถึงการคมนาคม เศรษฐกิจภายในประเทศมีความราบรื่นและรุ่งเรืองนั้นเอง
ที่มา : พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ส่วนของ วันพืชมงคล 2566 ก็ต้องมาลุ้นกันว่าพระโคจะทำนายกันอย่างไร เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็พึ่งผ่านช่วงเลือกตั้ง 2566 จึงทำให้การทำนายของปีนี้ถือว่าเป็นการทำนาย นอกจากจะสร้างขวัญและกำลังใจ ยังเปรียบเสมือนกับการทำนายอนาคตต่างๆของประเทศไทยอีกด้วยเช่นเดียวกัน
อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่