เชื่อได้เลยว่า การทานข้าวนอกบ้าน เป็นหนึ่งในอีเว้นท์ที่หลายๆคนแพลนกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า บางครั้งที่เราไปทานเสร็จก็ต้องตกใจกับ Service charge ที่อยู่ในใบเสร็จตอนจ่ายซึ่งเป็นของแถมที่เวลาไปทานอาหารที่บ้างร้าน ก็อาจจะไปแฮปปี้เอาซะเลย ซึ่งก็เอาจะทำให้เราต้องมาตั้งคำถามกันว่าถ้าเจอแบบนี้ เราไม่จ่ายได้ไหม? ซึ่งคำตอบนี้ก็ได้กระจ่างแล้วเพราะทาง สคบ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มาอธิบายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในวันนี้จะมาหาที่มากันว่า Service charge คืออะไร กันในบทความนี้กัน
Service charge คืออะไร จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่?
Service charge คือ ค่าบริการที่ร้านอาหาร ผู้ประกอบการขายของสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากที่ผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการ ซึ่งรายได้ในส่วนนี้ก็จะถูกนำมาแบ่งให้กับพนักงานบริการในแต่ละเดือน (ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในรายได้ของพนักงาน) โดยทั้งนี้หากบริการไม่เป็นที่พอใจของผู้ที่ไปใช้บริการอย่างเราๆ สามารถขอค่า Service charge คืนได้หรือไม่?
คำตอบก็คือ หาก Service charge มีการคิดเพิ่มในราคาที่แพงจนเกินจริง ภาครัฐบาลก็มี พ.ร.บ. ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตราที่ 29 ได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใดๆ โดยจงใจทำให้ราคาต่ำเกิน หรือ สูงกว่าที่สมควร หรือ ทำให้กลไกราคาปั่นป่วน มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
Service Charge ที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ และ กรณีไหนที่เราไม่ต้องจ่าย Service Charge?
ส่วนในอัตราการเรียกเก็บของ Service charge ที่เหมาะสบตามกฎหมายที่กรมการค้าได้กำหนดแล้วนั้น จะต้องคิดไม่เกิน 10% สาเหตุที่ต้องอยู่ภายใน 10% เพราะเป็นอัตราการคิดค่าบริการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ รับทราบตามสากลและยอมรับได้ ถึงแม้ว่า กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค จะไม่ได้มีการพูดถึงเรื่อง Service charge โดยตรง แต่ทว่าก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ไปใช้บริการในร้านอาหารอย่างเราที่จะต้องทราบไว้ นั้นก็คือ การต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ของ พ.ศ. 2542
ซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ดูแลโดย กรมการค้าภายใน ที่ได้มีการระบุว่า ราคาสินค้าและบริการจะต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ (แต่จะต้องมีตัวเลขอารบิกกำกับไว้ด้วย) โดยทั้งนี้ข้อความที่สื่อสารกับลูกค้าจะต้องมีการเปิดเผยอย่างชัดเจน สามารถสังเกตุ และอ่านได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือ ใช้บริการนั้นๆ หากไม่มีการแสดง หรือ จงใจทำให้อ่านได้ไม่ชัด ไม่ครบถ้วน ก็ถือว่ามีความผิด โทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
ซึ่งแน่นอนว่าจากประโยคด้านบน ทุกร้านอาหารจะต้องมีการแจ้ง หรือ แสดงข้อมูลให้กับผู้บริโภคได้ทราบล่วงหน้า และ ไม่ใช่เพียงแค่ราคาเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ต้องแจ้ง แต่ยังรวมไปถึง Service charge ที่ต้องมีการระบุไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ป้ายโฆษณาหน้าร้าน ใบรายการอาหาร ใบโปรโมชั่น ที่แคชเชียร์ หรืออื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าก็ยังไม่มีข้อชัดเจนที่ว่าจะต้องระบุไว้ในตำแหน่งใด แต่จะต้องมี และลูกค้าจะต้องสังเกตุได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจำไว้ง่ายๆเลยว่า หากไม่ครบถ้วน นับว่ามีความผิด ลูกค้าสามารถฟ้องร้องได้ และ ไม่ต้องจ่ายค่า Service charge เพราะทางร้านไม่ได้มีการแสดงไว้นั้นเอง
เป็นยังไงกันบ้างครับกับ Service charge คืออะไร ไปทานอาหารนอกบ้าน จำเป็นต้องจ่ายไหม? ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่นักกินตัวยงอย่างเราๆ ต้องทราบเอาไว้ เพราะจะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่า เรายินดีที่จะจ่ายหรือไม่ แต่ถ้าเกิดเราไปเจอร้านไหนที่รู้สึกว่ามีการเรียกเก็บ เกินกว่า 10% และมีเหตุผลที่ไม่เหมาะสม รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือ สายด่วน สคบ. 1166 ได้เลยครับ
แต่ถ้าเกิดใครอยากจะมองหาร้านอาหารชั้นนำ คุณภาพดี ในราคา Net ตามที่เห็น สามารถมาดูได้ที่ Hungry Hub กันได้เลย
อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่