หากพูดว่า Hungry Hub หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดว่าโปรบุฟเฟ่ต์ร้าน Audrey Cafe หลายๆ คนอาจจะเริ่มร้อง “อ๋อ” เบื้องหลังความสำเร็จของร้าน A la carte ที่สั่งจานต่อจาน เดินทางมาบรรจบกับโปรโมชั่น All You Can Eat ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งไม่อั้น แต่จ่ายราคา NET ต่อท่าน ทำให้ร้านมียอดจองถล่มทลาย มีจุดเริ่มต้นอย่างไร วันนี้เราจะพาไป ทำความรู้จัก Hungry Hub – All You Can Eat ให้มากกว่าเดิม
Hungry Hub เปิดตัวด้วยคอนเซ็ปต์ระบบจองร้านอาหาร 24 ชั่วโมงที่แรกของไทยตั้งแต่ปี 2014 แต่หลังจากดำเนินการมาได้ประมาณ 2 ปี ก็พบว่าการสร้างระบบจองนี้อำนวยความสะดวกให้แค่เพียงฝั่งร้านอาหารเท่านั้น เนื่องจากร้านอาหารในไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพ มีจำนวนเยอะมากจนไม่มีร้านอาหารไหนที่ที่นั่งเต็มจนลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องจองล่วงหน้า ยกเว้นร้านที่เป็นที่นิยมอย่างมากซึ่งก็มีสัดส่วนน้อยกว่า 1% จึงทำให้ยังไม่ตอบโจทย์ของทางฝั่งผู้บริโภคเท่าที่ควร
จนเมื่อประมาณกลางปี 2016 สุรสิทธิ์ สัจจะเดว์ (CEO และ Co-Founder ของ Hungry Hub) ตัดสินใจลุกขึ้นมา เปลี่ยน เพื่อสร้างโอกาสที่มากกว่า หลังจากที่คิด Business Model ไว้หลายอย่าง ก็มาจบที่ All You Can Eat
ทำความรู้จัก Hungry Hub จุดเริ่มต้น All You Can Eat ในร้าน A la carte
คอนเซ็ปต์นี้เกิดจากการที่คุณสุรสิทธิ์ต้องพาทีมไปเลี้ยงข้าวบ่อยๆ แต่มักไม่ค่อยอยากพาไปที่ร้านบุฟเฟ่ต์เนื่องจากบุฟเฟ่ต์นั้นแต่ละคนจะต้องเดินไปตักอาหาร ทำให้ไม่ได้คุยกันอย่างเต็มที่ แถมบุฟเฟ่ต์ส่วนใหญ่มีเวลาให้เพียงแค่ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น หรือบางที่คุณภาพอาหารไม่ดีเมื่อเทียบกับราคา ทำให้กินเลี้ยงพนักงานส่วนใหญ่ที่ร้าน a la carte แทน โดยมีงบ (ในใจ) ต่อหัวไว้ เช่นมีงบหัวละ 500 แต่พอบิลมาจริง ค่าอาหารออกมาเฉลี่ยแล้วหัวละเกือบพัน จึงอยากสร้างธุรกิจแนวใหม่ที่จะช่วยให้การกินเลี้ยงแบบกลุ่มใหญ่สามารถคุมงบได้และได้ทานอาหารดีๆ ได้ลองเมนูใหม่ๆ ที่ไม่เคยลองในขณะเดียวกัน
ทุกวันนี้ถ้าไปร้านอาหารที่ไปทานไม่รู้ว่าบิลจะมาเท่าไหร่ แต่เราจะทำให้คุณรู้และสามารถควบคุมงบสำหรับอาหารมื้อนั้นได้ง่ายๆ ด้วยเอ็กซ์คลูซีฟดีลในแอปของ Hungry Hub ลูกค้าเพียงเลือกวัน เวลา และจำนวนคนที่ต้องการจอง จากนั้นเมื่อถึงวันจองก็เข้าไปใช้บริการได้ทันที ทุกคนสามารถสั่งอะไรก็ได้ที่อยากกินที่อยู่ในเมนู All You Can Eat แต่จ่ายราคา NET ต่อคน
จากจุดเล็กๆ ของไอเดีย กลายมาเป็นความคุ้มค่าที่หาไม่ได้จากที่อื่น ความพิเศษของคอนเซ็ปต์นี้อยู่ตรงที่การสร้าง win-win ให้กับทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายลูกค้าและร้านอาหาร ในส่วนของ “ลูกค้า” ก็จะได้มีประสบการณ์ในการทานร้านอาหารใหม่ๆ โดยหมดกังวลเรื่องค่าอาหาร สามารถสั่งกี่จานก็ได้ในเมนูที่กำหนด ซึ่งเป็นเมนูเด่นๆ ของร้านมากก่า 70% ทำให้ลูกค้าสามารถลองหลายๆ เมนูโดยที่ไม่ต้องดูราคาก่อนที่จะสั่งด้วยซ้ำ ในขณะที่ทางฝั่งร้านอาหารก็ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหญ่ รวมถึงสามารถกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น 20-30% โดยไม่ต้องสูญเสียรายได้จากการทำโปรโมชั่นลดราคาอื่นๆ ทั้งยังสามารถเติมเต็มที่นั่งว่างในช่วงเวลาที่ไม่ใช่พีคไทม์ได้
คอนเซ็ปต์นี้ถูกพูดถึงอย่างมากในรายการ The Unicorn : StartUp พันล้าน (ช่อง Workpoint) ว่าเป็นธุรกิจสตาร์ทอัปที่มีความโดดเด่น เป็นสตาร์ทอัปที่คะแนนนำโด่งมาเป็นอันดับ 1 แบบไม่ต้องลุ้นและผ่านเข้ารอบ 3 ทีมสุดท้ายด้วยคะแนนห่างจากอันดับ 2 แบบไม่เห็นฝุ่น
ดูรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ >> The Unicorn : สตาร์ทอัพ พันล้าน
ในปี 2018 Hungry Hub ก็พยายามที่จะเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น โดยยังคงคอนเซ็ปต์เดิมในเรื่องของ Fixed Price ให้สามารถคุมงบได้ในทุกมื้อของคุณ แพ็กเกจใหม่นี้เรียกว่า Party Pack ชุดอาหารสุดคุ้มที่คัดสรรและออกแบบมาให้สามารถเต็มอิ่มกับมื้ออาหารดีๆ และเมนูที่หลากหลายกับลูกค้า เพื่อนฝูง หรือครอบครัว ได้ในราคาที่ทราบล่วงหน้าแล้ว ราคาที่แจ้งเป็นราคา NET ต่อแพ็ก โดยแต่ละแพ็กจะจัดมาให้ครบทั้ง Appetizer, Main Course ไปจนถึง Dessert ซึ่งมีทั้งแบบแพ็ก 4 ท่าน และ แพ็กแบบ 2 ท่านให้เลือก โดยหากทานไม่หมดลูกค้าก็ยังสามารถห่อกลับบ้านได้อีกด้วย
นอกจากสองแพ็กเกจนี้แล้ว Hungry Hub มีแผนที่จะคิดค้นแพ็คเกจใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของทั้งฝั่งร้านอาหารและลูกค้ามากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีสำหรับทุกมื้ออาหารและสามารถคุมงบได้อยู่หมัดเช่นเคย เราคาดหวังว่าจะมีร้านอาหารเข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น ควบคู่กับการขยายตลาดทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศในอนาคต
สำหรับปี 2020 Hungry Hub ได้ผุด Model ใหม่ๆ ในคอนเซ็ปต์เดิม คือ คุมงบได้ แต่สิ่งที่พิเศษมากขึ้น คือการมอบประสบการณ์ในการรับประทานอาหารที่พิเศษยิ่งกว่าเดิม เช่น Staycation แพ็กเกจห้องอาหารพร้อมที่พัก พร้อมทำแคมเปญต่างๆ ทั้งโปรโมชั่นและกิจกรรมร่วมสนุก ดูเพิ่มเดิมได้ที่ Hungry Hub 2020 ปีนี้เราทำอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง